6 เรื่องที่น่าสนใจของเทคโนโลยีเออาร์โค๊ด

เทคโนโลยีเออาร์โค๊ด เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่างมากในโลกปัจจุบัน เพราะเป็นการเติมเอาโลกเสมือนและโลกแห่งความเป็นจริงเข้าไว้ด้วยกันอย่างแนบสนิท และเชื่อว่าต่อไปในอนาคตเราจะไม่สามารถแยกได้เลยว่าสิ่งใดเป็นของจริง และสิ่งใดเป็นโลกเสมือน โดยในบทความนี้จะเป็นตัวอย่างนวัตกรรมและแรงบันดาลใจจากจากในงานเทคโนโลยีเออาร์โค๊ด โดยทั้งหมดอาจจะยังเป็นเพียงแนวคิด ที่กำลังเกิดขึ้นได้จริง โดยทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการมอบคุณค่าของประสบการณ์ดี ๆ ให้กับผู้ใช้งานอย่างสูงสุด

หมายเหตุ แว่นตาเออาร์ จะเข้ามาแทนที่การใช้งานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในความคิดของผู้เขียน

1. ประการณ์ในการใช้เออาร์โค๊ด กับสนามบิน

ก่อนออกเดินทาง

สัมภาระของผู้โดยสาร ที่สามารถทำติดตัวไปได้มีอะไร และอะไรที่ต้องโหลดไว้ใต้เครื่อง นี้คงเป็นคำถามเดิม ๆ ที่ผู้โดยสารมักจะถามกันในหมู่นักเดินทาง แต่เทคโนโลยีเออาร์โค๊ดจะเข้ามาช่วยเรื่องเหล่านี้ได้ เพื่อไม่ทำให้คุณต้องรู้สึกเขิน เวลาทำอะไรผิดไปกับการเดินทางโดยสารขึ้นเครื่องบิน

ที่มา : Lukáš Straňák

ประการณ์ในการใช้เออาร์โค๊ด กับบนเครื่องบิน

ระหว่างเที่ยวบิน

แนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยีเออาร์โค๊ดเข้ามาใช้กับเที่ยวบินคือ ถ้าเครื่องบินแอร์บัส A380 ที่คุณกำลังโดยสาร ช่วยให้คุณค้นหาที่นั่ง และระยะความสูงจากพื้นที่คุณอยู่ว่า อยู่สูงจากระดับพื้นเท่าไหร่ มันคงจะดีไม่น้อย เพื่อคุณจะได้ตรวจสอบระหว่างการเดินทางได้ตลอดเวลาในการโดยสาร

โดยคุณสามารถลองทดลองระบบนี้ได้แล้ว ที่ลิงก์

https://apps.apple.com/us/app/iflya380/id1276202010

ที่มา : Gleb Kuznetsov

เมื่อถึงสถานที่ปลายทาง

เมื่อคุณเดินทางมาจนถึงปลายทาง ที่สถานบินที่คุณต้องการไป คุณสามารถใช้เทคโนโลยีเออาร์โค๊ด ในการนำทางไปหาแท็กซี่ หรือ ป้ายรถเมล์ และแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว

ที่มา : Adrian Reznicek

2. การช้อปปิ้งด้วยเทคโนโลยีเออาร์โค๊ด

ตลาดของอีคอมเมิร์ซออนไลน์เป็นตลาดขนาดใหญ่ ในปี 2018 มีผู้คนทั่วโลกซื้อสินค้าด้วยระบบออนไลน์ประมาณ 1.79 พันล้านคน และเกือบ 40% ของการซื้อสินค้าออนไลน์ในช่วงเทศกาลวันหยุดในปี 2018 โดยใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน นั่นเลยเป็นเหตุผลที่การสร้างประสบการณ์ในการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องที่สำคัญของผู้ใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

แอปพลิเคชัน Shazam เพื่อการค้นหาสินค้า

เมื่อเราได้ยินเสียงเพลง แต่นึกชื่อเพลงไม่ออกเราสามารถใช้แอปพลิเคชัน Shazam เพื่อค้นหาเพลงที่ได้กำลังฟังอยู่ เรายังสามารถเอาเทคโนโลยีเออาร์โค๊ด เข้ามาประยุกต์เพื่อใช้ค้นหาสินค้า ที่อยู่ตรงหน้าคุณ รู้ชื่อรุ่น ราคา ยี่ห้อ และรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการช้อปปิ้งให้ง่ายมากขึ้น โดยคุณสามารถกดสั่งซื้อสินค้าได้ทันที ที่คุณต้องการ

ที่มา : Johny vino™

ประสบการณ์ในการทดลองสินค้าผ่านเทคโนโลยีเออาร์

ผู้คนมากมาย เมื่อพบสินค้าที่ถูกใจ เค้าเหล่านั้นอยากทดลอง และการทดลองนี้เองที่เป็นสิ่งสำคัญ กับเรื่องของสินค้าประเภทแฟชั่น เช่นแว่นตา เป็นต้น ผู้คนอยากทดลองเพื่อจะได้รู้ว่าแว่นตานั้นเหมาะสมกับเขาหรือไม่

ลองคิดดูว่าถ้าลูกค้าได้ทดลองแว่นตาแล้ว กดสั่งซื้อเลยเราสามารถเพิ่มยอดขายได้แน่นอน

ที่มา : Aleksei Kipin

ประสบการณ์ในการทดลองสินค้า ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในออนไลน์ เราสามารถเอาไประยุกต์ใช้กับหน้าร้านได้อีกด้วย เช่น ตัวอย่างด้านล่างที่ให้ลูกค้าสามารถทดลองเสื้อผ้า ได้โดยไม่จำเป็นเข้าไปทดลองในร้าน และเทคโนโลยีเออาร์โค๊ด ยังสามารถลดจำนวนคนลองในห้องลองชุดได้อีกด้วย

กระจกเออาร์โค๊ด ร้านทิมเบอร์แลนด์  ที่มา : lemonorange

ในอุตสาหกรรมด้านความงาม เทคโนโลยีเออาร์ ยังสามารถเข้าไปช่วยได้ เช่น การแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง แสดงผ่านกระจก ซึ่งสามารถเสมือนการแต่งหน้า และปรับดูลุคตัวเองในแบบต่าง ๆ โดยไม่ต้องแต่งหน้าจริง ช่วยลดเวลาไปได้เยอะ จากตัวอย่างในรูปเป็นร้านเครื่องสำอาง MAC

ที่มา : Digitaltrends

3. ระบบการศึกษาที่ดีขึ้น

สภาพแวดล้อมรอบตัว ที่เอื้อประโยชร์เพื่อการศึกษา นั้นเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้สมัยใหม่

เรียนรู้กายวิภาค

การเรียนรู้ด้านกายวิภาคอาจจะเป็นเรื่องน่าเบื่อเมื่อสมัยก่อน นักเรียนต้องดูรูปและจินตนาการเอาว่ามันหน้าตาเป็นอย่างไรโดยไม่รู้ว่าความเป็นจริงแล้วหน้าตามันเป็นอย่างไร เราสามารถทำให้บทเรียนนี้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเมื่อใช้เทคดนโลยีเออาร์ เราสามารถเรียนโดยเห็นอนาโตมีต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเรียนรู้กายวิภาคของมนุษย์แบบละเอียด

ที่มา : Maciej Dyjak

ยกเลิกการใช้กระดาษ

คงไม่มีใครชื่นชอบการอ่านคู่มือก่อนใช้งานผลิตภัณฑ์ ผู้คนจำนวนมากไม่ได้ซื้อสินค้าเพื่อใช้เวลาในการอ่านคู่มือการใช้งาน ถึงอยากจะอ่านก็อยากใช้เวลาให้น้อยที่สุด หรือสั้นที่สุด เทคโนโลยีเออาร์ สามารถเข้ามาแทนที่คู่มือเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี โดยใช้งานมนสภาพแวดล้อมจริง และเทคโนโลยีเออาร์ ยังสามารถแนะนำลูกค้าให้ใช้งานผลิตภันฑ์เป็นตั้งแต่ตั้งแรกที่ใช้งาน

ที่มา : Andrej Roman

4. เทคโนโลยีเออาร์ เลนส์ กับการถ่ายภาพ

กิจกรรมการถ่ายรูปเป็นกิจกรรมหนึ่่งที่พบบ่อยที่สุดสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เมื่อผู้ใช้งานเปลี่ยนจากสมาร์ทโฟนไปเป็น เทคโนโลยีเออาร์ เลนส์ ในการถ่ายภาพ ส่วนใหญ่แอปพลิเคชันเออาร์ จะต้องตามมาด้วยการถ่ายรูปที่ใช้ท่าทางเข้ามาทดแทน ลักษณะการใช้งานแบบเดิม

ที่มา : Aurélien Salomon ➔

5. เทคโนโลยีเออาร์ กับประสบการณ์โซเชียลมีเดียด้วยการจดจำใบหน้า

เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าถูกนำมาใช้งานในหลายๆ อุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น ด้านความปลอดภัย การดูแลสุขภาพ สื่อบันเทิง และอื่น ๆ อีกมากมาย ผู้คนใช้เทคโนโลยีจำจดใบหน้า อย่างเช่นในการปลดล๊อคโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของเราเป็นต้น

อย่างไรก็ตามการจดจำใบหน้ากับเทคโนโลยีเออาร์ สามารถสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น เราจะใช้เทคโนโลยีเออาร์ ร่วมกับ AI ในการทำงานร่วมกันเพื่อจับคู่ใบหน้าของผู้คนจากกล้อง ยกตัวอย่างเช่น ในรูปถ่ายมีคนอยู่ในรูปมากกว่า 300 คน เทคโนโลยีเออาร์ สามารถเข้ามาบอกได้ว่าคนในรูปนี้คือใคร เสียงคุณใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนส่องไปที่ใบหน้าของบุคคลนั้น ๆ เพื่อดูรายชื่่อ และข้อมูลของบุคคลนั้น ๆ

ที่มา : Aurélien Salomon ➔

ใบหน้าของคุณ จะกลายเป็นโปรไฟล์ทางสื่อโซเชียลมีเดีย และคุณสามารถที่จะสร้างเครือข่ายทางสังคม รูปแบบใหม่ เพียงใช้การสแกนใบหน้า และเพิ่มข้อมูลส่วนบุคคลลงไป

หมายเหตุ : เรื่องการจำจดใบหน้ายังคงเป็นข้อกังวล กับหลาย ๆ บุคคลเรื่องความเป็นส่วนตัว เรายังคงต้องตอบคำถามเรื่องที่ว่า การจดจำใบหน้าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนบุคคลหรือไม่

Image: Techcrunch

6. การตั้งค่าส่วนบุคคลขั้นสูงโดยใช้การจดจำใบหน้า

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราสามารถปรับแต่งประสบการณ์ที่เราสามารถมอบให้กับผู้ใช้งานของเรา ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ผ่านมาของพวกเขา แต่ยังขึ้นอยู่กับอารมณ์ ณ ช่วงเวลาปัจจุบันของพวกเขาเหล่านั้นอีกด้วย แต่เรากำลังพูดถึงเรื่องของแอปพลิเคชันที่ชาญฉลาดพอที่จะรู้วาอารมณ์ไหนของผู้ใช้งานเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น สีหน้าอารมณ์ของผู้ใช้งานเมื่ออ่านบทความ และทำความเข้าใจกับสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นชอบหรือว่าไม่ชอบ และอาจจะมอบความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้นอีก

การติดตามใบหน้าและการวิเคราะห์การแสดงออกในแอพมือถือ ที่มา : Facebook (FacioMetrics)

ที่มาของเนื้อหา https://uxplanet.org/6-interesting-concepts-for-ar-experiences-359193eb1ad5

ใส่ความเห็น