Paradigm – สรุปจังหวะ

Paradigm
Paradigm เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง ที่ช่วยสรุปจังหวะของการเขียนบทที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร ขั้นตอนที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าเรื่องนั้นดำเนินไปเป็นฉากๆแล้ว แต่เรายังไม่ได้ถอยออกมา แล้วมองเรื่องทั้งเรื่อง เป็นจังหวะหรือstepของการดำเนินเรื่อง

วิธีการของขั้นตอนนี้ จะเน้นไปที่การวิเคราะห์และตีความ คุณสมบัติหรือหน้าที่ของแต่ละฉาก เพื่อตรวจสอบดูว่าอะไรขาด อะไรเกิน และไปสู่การ ออกแบบstepของการเล่าเรื่องนั่นแหละครับ ถ้าไม่พอใจ จะได้แก้ไขก่อนจะเข้าสู่Screenplayการวิเคราะห์ ตีความ คุณสมบัติและหน้าที่ของฉาก
คุณสมบัติหรือหน้าที่ที่พูดถึงนี้ คือ หน้าที่ต่อการเล่าเรื่อง เล่าอารมณ์ เราต้องสรุปได้ว่า ฉากนั้นๆ มีประโยชน์อย่างไร เช่น

ฉาก1 ภายนอก/ร้านซ่อมรองเท้า/กลางวัน ลุงสมนั่งทำงานด้วยใบหน้าที่ปราศจากความทุกข์ – บอกทัศนคติต่องานหรือชีวิต ว่ามีความสุขดี ทักทายผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา – บอกข้อมูลว่าลุงสมมีมนุษยสัมพันธ์ดีกับคนอื่น มีเกียรติ ไม่มีข้อขัดแย้งกับสังคม ตกเย็นลุงสมเก็บของเล็กๆน้อยๆ ของหนักๆทิ้งไว้ที่ร้าน – หย่อนเหตุผลไว้ว่า ทำไมลุงสมจะต้องกลับมาที่นี่อีก เพราะที่นี่ยังมีสิ่งที่สำคัญเก็บไว้

ฉาก21 ภายนอก/ตลาด/เช้า รถของสมบัติขับมาจอด – ลุงสมได้กลับมาที่ตลาดอีกครั้ง ลุงสมเปิดประตูลงรถมา – ลุงสมดีใจ ไม่รอช้าที่จะลงรถ สมบัติตะโกนจากในรถ “เดี๋ยวตอนเย็นผมมารับนะพ่อ” – สมบัติไม่ได้โกรธพ่อ ไม่ได้ทอดทิ้งพ่อ ลุงสมยิ้ม พยักเพยิดหน้า แล้วเดินตรงไปยังร้านซ่อมรองเท้า – ลุงสมก็ไม่ได้โกรธลูก แต่ก็ดีใจที่ได้กลับมาซ่อมรองเท้าอีกครั้ง
สมบัติใส่เกียร์ถอยหลัง แล้วเหยียบคันเร่ง ด้วยรองเท้าคู่เก่าที่พ่อซ่อมให้ – สมบัติยอมถอยออกมาจากความคิดเดิม และยอมรับในวิถีของพ่อเมื่อเราลองวิเคราะห์ ตีความ แต่ละฉากแล้ว จะทำให้เราเห็นชัดเจนขึ้นว่า อะไรเยิ่นเย้อ อะไรไม่พอ
3 องก์
หลังจากนั้น ลองสร้าง Step ของการดำเนินเรื่อง เป็นองก์ๆ นิยมใช้ 3 องก์ ซึ่งก็มีหลายสูตร วันนี้จะลองยกเอามาสูตรหนึ่ง มีstepดังนี้

องก์1

เปิดตัวละครหลัก บอกทัศนคติต่อตัวเอง ทัศนคติต่อสังคม ต่อสถานที่ และเหตุการณ์รอบๆตัว 2.เปิดตัวละครฝ่ายตรงข้าม และทัศนคติต่อตัวละครหลัก 3.เหตุการณ์พลิกผันที่ทำให้ตัวละครหลักต้องประสบปัญหา หรือเกิดความขัดแย้งพาไปสู่

องก์2
1.ตัวละคร2ฝ่าย เผชิญภาวะความขัดแย้ง 2.การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ของตัวละครทั้ง 2 ฝ่าย 3.ความขัดแย้งของตัวละครหลัก กลับเพิ่มมากขึ้น 4.ตัวละครหลัก ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาด้วยวิธีเด็ดขาดพาไปสู่

องก์3
1.การแก้ไขปัญหา วิธีขั้นเด็ดขาดของตัวละคร 2.ผลลัพธ์ของการกระทำดังกล่าว พาตัวละครทั้ง 2 ฝ่าย ไปถึงจุดสุดยอดของสถานการณ์ 3.ตัวละคร(ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย)เกิดการเรียนรู้ (หนังพิสูจน์theme) 4.สถานการณ์คลี่คลาย……………………………….ตัวอย่างกราฟของการเล่าเรื่อง รูปแบบหนึ่ง

ทีนี้เราก็ลองเอา Scenerio ของเรา บรรจุลงในสูตรดังกล่าว เพื่อเช็คดูว่าStepการเล่าเรื่องของเรา พอที่จะสอดคล้องกับสูตรได้ไหม โดยอาจจะลองสร้างกราฟดูก็ได้

องก์1

ฉาก1 เปิดตัวละครลุงสม ทัศนคติต่ออาชีพตัวเอง ต่อสังคมคนรอบข้าง

ฉาก2 สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน

ฉาก3 เปิดตัวละครลูกชายและสะใภ้ และทัศนคติต่อลุงสม เหตุการณ์พลิกผัน ลุงสมต้องไปอยู่บ้านหลังใหม่
พาไปสู่
องก์2

ฉาก4 ลุงสมเผชิญภาวะความขัดแย้งกับสถานที่

ฉาก5 ขัดแย้งกับสถานที่

ฉาก6 ขัดแย้งกับตัวละครอื่น ไม่มีใครอยู่บ้าน

ฉาก7 ขัดแย้งในตัวเอง

ฉาก8 ขัดแย้งในตัวเอง

ฉาก9 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่1) ลูกชายและสะใภ้ พยายามปรนเปรอด้วยวัตถุ

ฉาก10 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่1) ลุงสมพยายามใช้วัตถุ ทำให้ตนสบายใจขึ้น

ฉาก11 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่2) ลูกชายพยายามหาเครื่องผ่อนคลายจิตใจให้พ่อ ที่มากกว่าวัตถุ โดยการหานกมาให้เลี้ยง

ฉาก12 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่2) ลุงสมพยายามผ่อนคลายโดยเล่นกับนก แต่กลับห่อเหี่ยวมากขึ้นไปอีกเมื่อเห็นนกอยู่ในกรง

ฉาก13 ลุงสมไปเจอรองเท้าเก่าของลูก (ความขัดแย้งของตัวละครหลักกลับเพิ่มมากขึ้น)

ฉาก14 ลุงสมตัดสินใจเดินออกจากบ้าน (แก้ไขปัญหาด้วยวิธีเด็ดขาด)

พาไปสู่
องก์3

ฉาก15 ลุงสมเดินไปตลาด (การแก้ไขปัญหา วิธีขั้นเด็ดขาดของตัวละคร)

ฉาก16 ลุงสมลงมือซ่อมรองเท้า (การแก้ไขปัญหา วิธีขั้นเด็ดขาดของตัวละคร)

ฉาก17 ลุงสมขัดรองเท้า (การแก้ไขปัญหา วิธีขั้นเด็ดขาดของตัวละคร)

ฉาก18 สมบัติขับรถไปหาลุงสม(ผลลัพธ์ของการกระทำดังกล่าว พาตัวละครทั้ง 2 ฝ่าย ไปถึงจุดสุดยอดของสถานการณ์)

ฉาก19 ลุงสมกับลูกชาย เผชิญหน้ากัน(ผลลัพธ์ของการกระทำดังกล่าว พาตัวละครทั้ง 2 ฝ่าย ไปถึงจุดสุดยอดของสถานการณ์)

ฉาก20 สมบัติเกิดการเรียนรู้ (หนังพิสูจน์theme)

ฉาก21 สมบัติยอมถอยออกมาจากความคิดเดิม และยอมรับในวิถีของพ่อ (สถานการณ์คลี่คลาย)
-จบ-

Sequence
ทีนี้ พอเราได้ลองบรรจุScenerioของเรา ลงในสูตรดังกล่าวแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันมีความชัดเจนของหน้าที่ของแต่ละฉากมากขึ้น เห็นเป็นกลุ่มก้อนของฉาก ว่ามีการ เล่าเรื่องต่อเนื่องกัน เสริมกัน เป็นหมวดหมู่ของอารมณ์ไป เป็นสัดส่วนมากขึ้น ตรงนี้แหละที่เราจะเอามารวบแต่ละฉากที่มีหน้าที่คล้ายกัน มาเข้ากลุ่มเป็นSequence การแบ่งSequenceนิยมตั้งชื่อSequenceด้วย เพื่อความแม่นยำมากขึ้นว่าในSequenceนั้นๆ กำลังจะบอกประเด็นอะไรเป็นสำคัญ
ตัวอย่างการเขียนบท ที่จะพัฒนาในขั้นตอนต่อๆไป Paradigm
องก์1

Sequence A

ชีวิตสุขๆของลุงสม ฉาก1 เปิดตัวละครลุงสม ทัศนคติต่ออาชีพตัวเอง ต่อสังคมคนรอบข้าง ฉาก2 สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน
Sequence B จุดพลิกผัน

ฉาก3 เปิดตัวละครลูกชายและสะใภ้ และทัศนคติต่อลุงสม เหตุการณ์พลิกผัน ลุงสมต้องไปอยู่บ้านหลังใหม่
พาไปสู่

องก์2

Sequence C ความขัดแย้งของลุงสม

ฉาก4 ลุงสมเผชิญภาวะความขัดแย้งกับสถานที่ ฉาก5 ขัดแย้งกับสถานที่ ฉาก6 ขัดแย้งกับตัวละครอื่น ไม่มีใครอยู่บ้าน ฉาก7 ขัดแย้งในตัวเอง ฉาก8 ขัดแย้งในตัวเอง
Sequence D

ประคับประคอง ฉาก9 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่1) ลูกชายและสะใภ้ พยายามปรนเปรอด้วยวัตถุ ฉาก10 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่1) ลุงสมพยายามใช้วัตถุ ทำให้ตนสบายใจขึ้น ฉาก11 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่2) ลูกชายพยายามหาเครื่องผ่อนคลายจิตใจให้พ่อ ที่มากกว่าวัตถุ โดยการหานกมาให้เลี้ยง ฉาก12 (การแก้ไขปัญหาครั้งที่2) ลุงสมพยายามผ่อนคลายโดยเล่นกับนก แต่กลับห่อเหี่ยวมากขึ้นไปอีกเมื่อเห็นนกอยู่ในกรง ฉาก13 ลุงสมไปเจอรองเท้าเก่าของลูก (ความขัดแย้งของตัวละครหลักกลับเพิ่มมากขึ้น) ฉาก14 ลุงสมตัดสินใจเดินออกจากบ้าน (แก้ไขปัญหาด้วยวิธีเด็ดขาด)
พาไปสู่

องก์3

Sequence E ขาดผึง

ฉาก15 ลุงสมเดินไปตลาด (การแก้ไขปัญหา วิธีขั้นเด็ดขาดของตัวละคร) ฉาก16 ลุงสมลงมือซ่อมรองเท้า (การแก้ไขปัญหา วิธีขั้นเด็ดขาดของตัวละคร) ฉาก17 ลุงสมขัดรองเท้า (การแก้ไขปัญหา วิธีขั้นเด็ดขาดของตัวละคร) ฉาก18 สมบัติขับรถไปหาลุงสม(ผลลัพธ์ของการกระทำดังกล่าว พาตัวละครทั้ง 2 ฝ่าย ไปถึงจุดสุดยอดของสถานการณ์) ฉาก19 ลุงสมกับลูกชาย เผชิญหน้ากัน(ผลลัพธ์ของการกระทำดังกล่าว พาตัวละครทั้ง 2 ฝ่าย ไปถึงจุดสุดยอดของสถานการณ์)

Sequence F คนละครึ่งทาง

ฉาก20 สมบัติเกิดการเรียนรู้ (หนังพิสูจน์theme) ฉาก21 สมบัติยอมถอยออกมาจากความคิดเดิม และยอมรับในวิถีของพ่อ (สถานการณ์คลี่คลาย)

ใส่ความเห็น